คุกกับตะราง ต่างกันอย่างไร
เราคงเคยได้ยินคำที่เกี่ยวข้องกับสถานที่คุมขังนักโทษหรือผู้ต้องขังอยู่หลายคำด้วยกัน เช่น คุก ตะราง เรือนจำ หรือทัณฑสถาน เป็นต้น คำที่กำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน ได้แก่ “เรือนจำ” คำนี้มีกำหนดความหมายไว้ในพระราชบัญญติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ไว้ว่า “ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมตลอดถึงที่อื่นใดซึ่งรัฐมนตรีได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตต์ไว้โดยชัดเจน” ในกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ได้แบ่งเรือนจำออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
– เรือนจำกลาง
– เรือนจำส่วนภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วย เรือนจำจังหวัด และเรือนจำอำเภอ
– เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน
– เรือนจำชั่วคราว
เกาะตะรุเตา: เรื่องราวของคุกในตำนาน
เกาะ “ตะรุเตา” หรือ “ตะรูเตา” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสตูล แหล่งธรรมชาติที่สวยงามแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตทะเลอันดามัน มีความงามตามธรรมชาติทั้งบนเกาะและในน้ำ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก เกาะตะรุเตาได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517
…โครงการเทคโนโลยีบัณฑิต
จากการที่คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มีนโยบายขยายทางการศึกษาของผู้ต้องขังจากส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิชาชีพคอมพิวเตอร์ระยะสั้นซึ่งมีการดำเนินการอยู่แล้วไปสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา…
…